5 เทคนิค ซาวด์เช็คยังไงให้เป๊ะทุกโชว์

แน่นอนว่าการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการแสดงสดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักดนตรี และหนึ่งในขั้นตอนที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ “ซาวด์เช็ค” เพราะไม่ได้เป็นแค่การตรวจสอบอุปกรณ์หรือเสียงที่ออกมาเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความมั่นใจและเตรียมความพร้อมสำหรับการแสดงจริงได้อีกด้วย

วันนี้ STUDIO Encrypt ขอนำเสนอ 5 ข้อควรรู้ ที่จะช่วยให้การซาวด์เช็คของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด เสริมความมั่นใจให้กับการแสดงทุกครั้ง

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนซาวด์เช็ค

เวลาในการซาวด์เช็คมักมีจำกัด โดยเฉพาะงานที่มีวงร่วมแสดงหลายวง การจัดเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมใช้งานจะช่วยให้ทุกอย่างราบรื่น

เคล็ดลับ:

  • จัดสายสัญญาณเอฟเฟกต์ให้เรียบร้อย
  • ใช้บอร์ดที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า เพื่อลดเวลาในการเซ็ตอัพ

ประโยชน์: นอกจากช่วยประหยัดเวลาแล้ว ยังลดความเสี่ยงที่สายจะพันกันจนเกิดปัญหาระหว่างการแสดง

2. ซาวด์ที่ปล่อยออกมาต้องเป๊ะ

การแสดงสดต้องอาศัยซาวด์ที่ชัดเจนและตรงตามที่คุณต้องการที่สุด นักดนตรีควรมั่นใจว่าซาวด์ที่ออกจากเครื่องดนตรีของตัวเองเป็นซาวด์ที่ดีที่สุด

เคล็ดลับ:

  • ปรับแต่งซาวด์จากอุปกรณ์ของคุณให้พร้อม ก่อนส่งต่อให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์
  • หากคุณใช้แอมป์หรือเอฟเฟกต์ ควรตั้งค่าให้ได้ซาวด์ที่ต้องการโดยไม่ต้องพึ่งซาวด์เอ็นจิเนียร์มากเกินไป

ประโยชน์: ลดเวลาการปรับแต่งบนเวที และช่วยให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์โฟกัสกับการปรับบาลานซ์เสียงในภาพรวมได้มากขึ้น

3. ปรับซาวด์มอนิเตอร์ให้เหมาะกับตัวคุณ

มอนิเตอร์คือเพื่อนร่วมทางสำคัญของนักดนตรีบนเวที ซาวด์ที่ได้ยินควรทำให้คุณเล่นได้อย่างสบายและมั่นใจ

เคล็ดลับ:

  • ขอให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์ปรับมอนิเตอร์ให้เหมือนกับเสียงที่คุณคุ้นเคยจากห้องซ้อม
  • หากคุณเป็นมือกีตาร์หรือเบส พยายามฟังเสียงจากแอมป์ของคุณเองเพื่อลดการทับซ้อน

ประโยชน์: ช่วยลดความสับสนบนเวที และทำให้โฟกัสกับการแสดงได้มากขึ้น

4. จัดบาลานซ์ซาวด์บนเวที (Stage Balance)

เสียงที่ดังเกินไปหรือไม่บาลานซ์บนเวทีส่งผลให้การแสดงสูญเสียความทรงพลัง นักดนตรีทุกคนควรร่วมมือกันเพื่อปรับบาลานซ์ของซาวด์บนเวทีให้ลงตัว

เคล็ดลับ:

  • ใช้การลดเสียงแทนการเพิ่มเสียง หากรู้สึกว่าซาวด์ของคุณฟังแล้วไม่ชัดเจน
  • ให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์ช่วยฟังเสียงรวมจากมุมผู้ชม เพื่อให้ได้บาลานซ์ที่เหมาะสมที่สุด

ประโยชน์: ลดปัญหาเสียงทับซ้อน และสร้างบรรยากาศที่สมดุลสำหรับผู้ฟัง

5. มอบหน้าที่การดูแลเสียงภายในสถานที่แสดงให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์

คุณควรโฟกัสกับซาวด์บนเวที แล้วปล่อยให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์ดูแลซาวด์ที่ผู้ชมได้ยิน การสื่อสารที่ดีกับซาวด์เอ็นจิรเนียร์จะช่วยให้ทุกอย่างออกมาลงตัว

เคล็ดลับ:

  • บอกซาวด์เอ็นจิเนียร์ว่าคุณต้องการซาวด์แบบไหน เช่น "อยากได้เสียงที่คมชัด" หรือ "อยากให้เสียงเบสเด่นขึ้น" เป็นต้น
  • ไว้วางใจให้ซาวด์เอ็นจิเนียร์ปรับบาลานซ์ซาวด์ที่ผู้ชมได้ยิน โดยไม่ต้องกังวลจนเกินไป

ประโยชน์: ช่วยให้คุณโฟกัสกับการแสดง และลดความเครียดเรื่องซาวด์ที่ผู้ชมได้ยิน

ซาวด์เช็ค เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยยกระดับการแสดงสดให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การเตรียมตัวให้พร้อม และใช้เวลาอย่างคุ้มค่าทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น

STUDIO Encrypt พร้อมสนับสนุนทุกวงดนตรี ด้วยห้องซ้อมที่ครบครันด้วยอุปกรณ์คุณภาพ และบรรยากาศที่เหมาะกับนักดนตรีทุกแนว

ติดต่อจองห้องซ้อมกับเราเลยวันนี้!
เพราะการซ้อมที่ดีคือก้าวแรกสู่การแสดงที่ยอดเยี่ยม

Credit: TRIVISION

Visitors: 144,911